แบบทดสอบปลายภาคเรียน
1. แท็บเล็ตกับการศึกษาไทย
แท็บเล็ตถูกคิดค้นมากว่า
17 ปีแล้ว หรือก็คือ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2537การใช้แเท็บเล็ต ในการศึกษานั้นมีผลดีต่อนักเรียนมากมาย ไม่ว่าจะสามารถใช้แทนตำราเรียน
ช่วยสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษาให้กับเด็กๆทำให้ครูสามารถนำรูปภาพ วีดิโอคลิป และข้อมูลข่าวสารต่างๆมาสอนนักเรียน เพื่อใช้สร้างบทเรียนที่น่าสนใจให้แก่นักเรียน
ทำให้นักเรียนตั้งใจเรียนมากขึ้น สามารถนำแอพพลิเคชั่นมาเป็นสื่อในการสอน สามารถนำมาจดบันทึกในการเรียน
พกพาได้สะดวก สามารถเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึง ค้นหาข้อมูลต่างๆได้อย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้แล้วแท็บเล็กก้อยังมีข้อเสียคือ
เด็กจะอยู่คนเดียว เล่นคนเดียว หรือเล่นกับเพื่อนสองสามคนมีปัญหาเรื่องสายตา
มีการออกกำลังกายน้อยลงทำให้มีปัญหาเรื่องด้านสุขภาพอื่นๆตามมา
และเป็นการปูพื้นฐานให้เด็กคุ้นเคยกับการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ ทำให้ผลการเรียนตกต่ำลง
เนื่องจากติดเกมส์
ที่มา
2. การเตรียมตัวของประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน และการเตรียมตัวเป็นครู
นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่ประชาคมอาเซียน
วัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้ในปฏิญญาอาเซียน
(The ASEAN
Declaration) มี 7 ประการ ดังนี้
1. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม
2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร
4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต
6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
7. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ
2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร
4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต
6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
7. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ
การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในครั้งนี้ ประเทศไทยและประเทศต่างๆมีการเตรียมตัวและเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสร้างคนในประเทศให้เป็นคนของสมาคมอาเซียน การพัฒนาด้านการศึกษา โดยเฉพาะประเทศไทยจะมีการร่วมมือกันทางด้านศึกษาได้แก่ ด้านพัฒนาคุณภาพการศึกษา การขยายโอกาสทางการศึกษา ส่งเสริมาการมีส่วนร่วมในการบริการและจัดการศึกษา ส่วนในด้านการเรียนการสอนนั้นครูผู้สอนจะต้องสอนให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียนในด้านต่างๆรวมถึงมีการส่งเสริมการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสานระหว่างกันในประชาคมอาเซียนและมีการเพิ่มครูที่สอนภาษาอังกฤษในทุกระดับชั้นและมีการร่วมมือกับภาคเอกชนในการรับอาสาสมัครเข้ามาสอนภาษาต่าง ประเทศ รวมถึงวัฒนธรรมของประเทศต่างๆเพื่อการอยู่ร่วมกันด้วยความเข้าใจกันของ ประเทศในประชาคม
ที่มา
3. ความเป็นครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง
การที่ครูจะเป็นผู้นำทางด้านวิชาการหรือทางด้านการสอนนั้น
ครูจะต้องมีพฤติกรรมดังนี้ คือ
1. หนังสือที่ติดอันดับขายที่ดีที่สุดมาอ่าน
เพื่อเราจะได้รู้ถึงความรสนิยมความต้องการของบุคคลต่างๆและความเคลื่อนไหวของทุกมุมโลกเพื่อจะได้บอกต่อให้กับผู้อื่นได้รู้ตามด้วย
2. อยู่กับปัจจุบัน/ทันสมัย
การเป็นครูที่มีภาวะผู้นำนั้นจะต้องก้าวทันกับโลกปัจจุบันรูจักนำเครื่องมือที่ทันสมัยมาใช้ในการเรียนการสอน
รู้ทันข่าวสารและเหตุการณ์บ้านเมืองในปัจจุบันเพื่อจะได้ปรับตัวให้เข้ากับสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆได้ทันท่วงที
3. หาข้อมูลมีความรู้ที่เกี่ยวกับเด็ก
ครูที่เป็นผู้นำในการสอนที่ดีนั้นจะต้องนำความรู้ต่างๆมาให้เด็กนักเรียนได้รู้จักนำมาวิเคราะห์
ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลหรือความรู้ใหม่ๆในวิชาที่สอนหรือจะเป็นความรู้หรือข้อมูลข่าวสารอื่นที่จะเป็นประโยชน์แก่ตัวของนักเรียนเอง
4. ทำให้นักเรียนแสดงออกซึ่งการเป็นภาวะผู้นำ ในการที่ครูเป็นภาวะผู้นำให้แก่นักเรียนแล้ว
ครูจะต้องให้นักเรียนได้รู้จักฝึกการเป็นภาวะผู้นำด้วย เช่น
ให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆที่อาจารย์ได้พูดยกตัวอย่างให้นักเรียนได้ฟัง
หรือการให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนการเป็นตัวแทนในการจัดกิจกรรมต่างๆ
5. กำหนดให้เด็กทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม
เพราะการที่จะสร้างเด็กให้มีคุณภาพนั้นไม่ได้อยู่ที่เด็กมีความรู้ที่ดีเพียงอย่างเดียวแต่เด็กจะต้องรู้จักการทำงานเป็นทีม
รู้จักการเสียสละ รู้จักการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเด็กเหล่านี้จึงจะสามารถเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคตได้
6. เชิญบุคคลภายนอกมาพูดให้เด็กฟัง
นอกจากการที่ครูจะสอนและให้ความรู้กับนักเรียนในเรื่องต่างๆแล้ว
ครูที่มีภาวะความเป็นผู้นำที่ดีนั้นจำต้องมีการเชิญวิทยากรหรือผู้มีความรู้เฉพาะทางมรให้ความรู้แก่นักเรียนเพื่อเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศให้กับนักเรียน
ทำให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้นและได้รับความรู้ประสบการณ์ใหม่ๆมากขึ้นด้วย
7. ท้าทายให้เด็กคิด
ในจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพนั้นจะต้องนั้นจะต้องนำความรู้ต่างๆมาให้นักเรียนได้คิดวิเคราะห์อยู่เสมอ
เช่น
มีการตั้งคำถามแล้วให้นักเรียนได้อภิปรายร่วมกันจนสามารถหาคำตอบได้อย่างถูกต้องและสมเหตุสมผล
เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเป็นคนรู้จักคิดและคิดได้ในหลายหลายแง่มุม
4. ความคิดเห็นในการใช้บล็อก โอกาสในการใช้บล็อกในอนาคต
และเกรดที่คาดว่าจะได้
ในการนำบล็อกมาเป็นสื่อในการเรียนการสอนนั้นมีประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการอำนวยให้เกิดความสะดวกสบายทั้งครูผู้สอนหรือตัวของนักเรียนเอง
ซึ่งคุณครูสามารถสั่งการบ้าน ให้ใบความรู้หรือให้นักเรียนสอบผ่านบล็อกได้เลย
และนักเรียนก็สามารถอ่านใบความรู้
ส่งการบ้านและทำข้อสอบได้อย่างสะดวกมากกว่าการที่จะต้องเขียนส่ง นอกจากนี้แล้วทำให้นักเรียนได้รู้ถึงกรอบความคิดและความสร้างสรรค์ของเพื่อนๆในแต่ละคน
ได้รู้จักการทำลิงค์ต่างๆ รู้จักการความคิดสร้างสรรค์มาจัดตกแต่งบล็อกให้สวยงามและน่าสนใจ
ได้รู้วิธีการใช้บล็อกให้เกิดความรู้และประโยชน์สูงสุด
ในอนาคตข้องหน้าในฐานะที่เราจะต้องก้าวไปเป็นครู
เรามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องนำบล็อกมาใช้ไม่ว่าจำเป็นการส่งงาน
ดูความเคลื่อนไหวของโรงเรียน ความคิดเห็นของบุคลากรต่างในโรงเรียน
และเรายังสามารถนำบล็อกมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนให้แก่นักเรียนต่อได้อีกด้วย
เพื่อนักเรียนจะได้รู้จักการใช้สื่อที่ทันสมัยและนำการคอมพิวเตอร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางด้านการเรียนรู้อย่างสูงสุดที่นอกเหนือจากความบันเทิง
ในการเรียนวิชาหลักการบริหารจัดการในชั้นเรียนคาดว่าน่าจะได้เกรด
A เพราะว่าเข้าเรียนทุกครั้ง แม้ว่าบางครั้งจะมาสายบ้าง
ส่งงานตามเวลาที่อาจารย์มอบหมายให้ทุกครั้งและครบทุกชิ้น
ตั้งใจทำงานอย่างสุดความสามารถ ไม่ลอกเพื่อนคนอื่น
และมีการค้นหาความรู้เพิ่มเติมมาประกอบในการตอบคำถาม