วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2

ทฤษฎีการบริหารศึกษา

มาสโลว์


มาสโลว์ เป็นเจ้าของทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ 5 ลำดับ นอกจากนั้นยังเป็นผู้วางรากฐานจิตวิทยามนุษย์นิยม และได้พัฒนาทฤษฎีแรงจูงใจ ซึ่งเขามีความเชื่อว่า มนุษย์มีแนวโน้มที่จะมีความต้องการอันใหม่ที่สูงขึ้น และมาสโลว์ แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน ได้แก่ 1.ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) 2.ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs) 3. ความต้องการทางสังคม(Social Needs) 4.ความต้องการยกย่องชื่อเสียง (Esteem Needs) และ 5.ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิต
             มาสโลว์ตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับความต้องการมนุษย์ไว้ว่า มนุษย์มีความต้องการอยู่เสมอ ความต้องการที่ได้รับการตอบสนองแล้วจะไม่เป็นสิ่งจูงใจของพฤติกรรมนั้น ๆ อีกต่อไป และความต้องการของมนุษย์จะเรียงกันเป็นลำดับขั้น ตามความสำคัญ


Douglas Mc Gregor : ทฤษฎี X และทฤษฎี Y



เป็นทฤษฎีการมองต่างมุม คือไม่มีใครที่ไม่มีข้อดีเลย คงไม่มี และไม่มีใครที่ดีไม่หมดทุกอย่าง และไม่ควรมองว่าเขาดีไปหมดหรือไม่ดีไปหมดเมื่อได้ผลประโยชน์หรือเสียผลประโยชน์ ซึ่งทฤษฎี X(Theory X) เป็นปรัชญาการบริการจัดการที่มองว่าพนักงานเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ไม่ชอบงานและพยายามหลีกเลี่ยงงาน ส่วนทฤษฎีY(Theory Y) เป็นปรัชญาการบริการจัดการ ที่มองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบ มีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาในการทำงาน ซึ่งแมคเกรเกอร์ ได้เรียกร้องให้ผู้บริหารเปลี่ยนแปลงมุมมองมนุษย์จากมุมมองตามทฤษฎี X ไปเป็นมุมมองตามทฤษฎี Y


William Ouchi : ทฤษฎี Z

ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีเป็นทฤษฎีที่ผสมระหว่างญี่ปุ่นกับอเมริกัน ซึ่ง วิลเลียม โอชิ เป็นคนคิดขึ้นมา ลองศึกษาแนวคิด โดยมองเห็นว่าการจูงใจคนนั้นต้องเป็นไปตามสถานการณ์ ซึ่งวิลเลี่ยม โอชิ นั้นมีแนวความคิดในการบริหารจัดการของโลกนั้นที่ แบ่งออกเป็น 2 ค่าย คือ ค่ายอเมริกัน และค่ายญี่ปุ่น เพราะเขามองว่า ในค่ายอเมริกันนั้น มักประสบความสำเร็จในธุรกิจ ดังนั้นวิลเลี่ยม จึงศึกษาถึงจุดดีของการบริหารจัดการจากสองค่ายนำมาสร้างเป็นแนวคิดขึ้นและได้มองว่า การที่จะทำความเข้าใจทฤษฎี Z ได้นั้น ต้องทำความเข้าใจของทฤษฎี A และทฤษฎี J ก่อนแล้วนำข้อดีข้อเสียของทฤษฎี A และทฤษฎี Jมาวิเคราะห์ผสมผสานให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เรียกว่า ทฤษฎี Z ซึ่งเป็นแนวคิดของการบริหารจัดการเชิงจินตนาการ โดย ใช้วิธีแบบ การจ้างงานระยะยาวขึ้น จะต้องมีความรับผิดชอบส่วนบุคคล และการตัดสินใจต้องทำเป็นทีม ต้องมีการพูดคุย ถึงผลดีผลเสียของการบริหารจัดการแบบต่างๆ


Henry Fayol : บิดาทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่
เป็นบิดาของทฤษฎีการจัดการการปฏิบัติการ เขาเชื่อว่าการบริหารนั้นเป็นเรื่องของทักษะ และเขาสนใจที่จะศึกษาองค์การโดยรวมและมุ่งเน้นที่กิจกรรมการจัดการ ซึ่งประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์การ การบังคับบัญชา หรือการสั่งการ การประสานงาน และ การควบคุม



อังริ ฟาโยล (Henri Fayol) 
       
เป็นนักอุตสาหกรรม ชาวฝรั่งเศส ได้นำเสนอหลักการทีเขาเรียกว่า หลักการจัดการ 14ประการ ซึ่งมีดังต่อไปนี้ คือ
1. การจัดแบ่งงาน
2. การมีอำนาจหน้าที่
3. ความมีวินัย

4. เอกภาพของสายบังคับบัญชา
5. เอกภาพในทิศทาง
6. ผลประโยชน์ของหมู่คณะจะต้องเหนือผลประโยชน์ส่วนตน
7. มีระบบค่าตอบแทนที่ยุติธรรม
8. ระบบการรวมศูนย์
9. สายบังคับบัญชา
10. ความเป็นระบบระเบียบ
11. ความเท่าเทียมกัน
12. ความมั่นคง และสามัญฐานะของบุคลากร
13. การริเริ่มสร้างสรรค์
14. วิญญาณแห่งหมู่คณะ

แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber)
แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) เป็นนักสังคมวิทยา ชาวเยอรมัน ได้นำเสนอแนวคิดการจัดองค์การ ที่เรียกว่า bureaucracy ซึ่งเขาเห็นว่าเป็นลักษณะองค์การที่เป็นอุดมคติที่องค์การทั้งหลายควรจะเป็น หากได้รับการพัฒนาในระดับที่เหมาะสม โดยสรุปแล้วแนวคิดการจัดองค์กรของเว็บเบอร์มี 6ประการ คือ
1. องค์การต้องมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ เพื่อให้แต่ละส่วนงานได้มีโอกาสทำงานในส่วนที่ง่ายพอ และมีการกำหนดงานนั้นๆให้ชัดเจนและไม่สับสน
2. องค์การนั้นต้องมีสายบังคับบัญชาตามลำดับ
3. ระบบการคัดเลือกคนนั้นต้องกระทำอย่างเป็น
4. องค์การต้องมีระเบียบ และกฏเกณฑ์
5. ความไม่เลือกที่รักมักที่
6.
การแยกระบบการทำงานออกเป็นสายอาชีพ



Luther Gulick

เป็นผู้คิดรูปแบบการบริหารจัดการโดยมีกิจกรรม 7 ประการมาใช้ในการบริหารเพื่อจะได้รู้จัก ดังนี้
            1. P คือการวางแผน (planning)
2. O คือการจัดองค์การ (organizing)
3. D คือการสั่งการ(directing)
4. S คือการบรรจุ (staffing)
5. CO คือการประสานงาน(co-ordinating)
6. R คือการรายงาน (reporting
7. B คือการงบประมาณ(budgeting)



Frederick Herzberg

เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจโดยเฟรเดอริค เฮิร์ซเบอร์ก (Frederick Herzberg)เฮิร์ซเบอร์กได้ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับแรงจูงใจของคน ซึ่งเขาได้ผลสรุปว่าแรงจูงใจของมนุษย์จะประกอบด้วย2 ปัจจัย คือ
1. ปัจจัยภายนอกหรือเรียกว่า
Hygiene Factors
2. ปัจจัยภายใน หรือ
Motivation Factors
นอกจากนี้เฮิร์ซเบอร์กยังบอกอีกว่าองค์กรควรจะให้คนทำงานที่ท้าทายอย่างเต็มความสามารถ พนักงานที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องได้รับการเพิ่มความรับผิดชอบให้สูงขึ้นและหากงานไม่มีความท้าทายก็จะทำให้คนทำงานไม่ทำงานอย่างเต็มความสามารถแล้วจะเกิดปัญหาในเรื่องของแรงจูงใจในการทำงาน




Taylor : ทฤษฏีการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์


เทย์เลอร์ ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ ปรัชญาการบริหารของเทย์เลอร์ได้แก่
1.ทำการศึกษางานแต่ละส่วนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการทำงานแต่ละอย่าง
2.ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการคัดเลือกและการฝึกอบรมพนักงานและมอบหมายความรับผิดชอบให้ทำงานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคน
3. มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและพนักงาน
4. แบ่งงานและความรับผิดชอบในงานเป็นส่วนต่าง ๆ



Henry L. Gantt 
 
เป็นผู้พัฒนาการอธิบายแผนโดยใช้กราฟ (Gantt Chart) ซึ่งแนวคิดของGilbreth เน้นการกำจัดความสิ้นเปลือง และความไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน





บทที่1
มโนทัศน์เกี่ยวกับการบริหารจัดการ
การบริหาร หมายถึง การจัดการกิจการหรือควบคุมกิจการของหน่วยรัฐ ตามนโยบายที่รัฐได้วางไว้
ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 25 (ค.ศ.18) จนถึงสงครามโลกครั้งที่ 1ความหมายของการบริหารเน้นไปทางรัฐประศาสนศาสตร์เป็นหลักยังไม่มีความสนใจในการบริหารธุรกิจและอุตสาหกรรม ส่วนในมหาวิทยาลัยได้ค้นคว้าพัฒนาการในการบริหารซึ่งถือว่าเป็นศาสตร์สาขาหนึ่ง
ความสำคัญของการบริหาร
           การบริหารเป็นสิ่งที่เจริญเติบโตพร้อมมนุษย์และทำให้สังคมมนุษย์มีอยู่กันอย่างปกติสุข มีความก้าวหน้า มีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วขึ้น แต่ก็มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดความเสื่อมของสังคมเช่นเดียวกันและทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมทางการเมืองด้วย

บทที่ 2
วิวัฒนาการของการบริหารยุคต่างๆ
และการประยุกต์ใช้ในการบริหารศึกษา

2.1 วิวัฒนาการด้านรัฐกิจ

ระยะ 1 (ค.ศ. 1887 – 1945) โครงการบริหารจะเป็นไปในรูปองค์การรูปนัย ( Formal Organization) โดยถือเอาคัมภีร์ของ Woodrow Wilson
ระยะที่  2 ( ค.ศ. 1954 – 1958) การศึกษาเรื่องการบริหาร หันมาเน้นพฤติกรรมองค์การ และเรื่องของมนุษยสัมพันธ์ของคนมากขึ้น
ระยะที่ 3 ( ค.ศ. 1958 - ปัจจุบัน) การศึกษาหันมาผสมผสานแนวคิดในระยะ 1และ 2 เข้าด้วยกันคือ พิจารณาทั้งรูปแบบ โครงสร้างขององค์การและตัวบุคคล เป็นองค์ประกอบสำคัญ
2.2 วิวัฒนาการด้านธุรกิจ
                 ใน ศตวรรษที่  19 ( ในปี ค.ศ. 1893) มีวิธีการบริหารที่ทันสมัยขึ้น ประกอบกับเทคโนโลยีทางอุตสาหกรรมที่เจริญอย่างรวดเร็ว และมีการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นผลของวิวัฒนาการสมัยใหม่ระยะแรก และนำไปสู่การจัดการที่ดี
2.3 การแบ่งยุคของนักทฤษฎีการบริหาร
แบ่งเป็นยุคที่ 1นักทฤษฎีการบริหารสมัยเดิม การประยุกต์ใช้หลักการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ในการบริหารศึกษา ยุคที่ 2 ยุค Human Relation Era ทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ การประยุกต์หลักมนุษยสัมพันธ์ในการบริหารการบริหารการศึกษา ยุคที่ 3 ยุคการใช้ทฤษฎีการบริหาร การประยุกต์ใช้พฤติกรรมศาสตร์ในการบริหารการและการประยุกต์เชิงระบบในการบริหารการศึกษา
บทที่ 3
งานบริหารการศึกษา
3.1 งานของผู้บิหารศึกษา แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ งานที่คนนอกมองว่าเป็นงานที่ผู้บริหารกำลังทำอยู่ งานที่คนนอกคิดว่าผู้บริหารควรทำและงานที่ตัวผู้บริหารการศึกษาคิดว่าเป็นความรับผิดชอบที่ตนต้องทำ จะมีใครกำหนดหรือไม่ก็ตาม
3.2 ภารกิจของการบริหารการศึกษา เป็นการวิจัยหลายเรื่องในสหรัฐเกี่ยวกับงานบริหาร หรือบทบาทหน้าที่ ซึ่งผู้บริหารการศึกษา จะต้องทำหรือควรทำ ซึ่งมีผลวิจัยแตกต่างกัน
3.3 ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้บริหาร ผู้บริหารจำเป็นจะต้องมีมีความรู้ความสามารถ และมีทักษะ 3 ทักษะคือ ทักษะในคตินิยม ทักษะในทางมนุษยสัมพันธ์และมีทักษะทางเทคนิค
บทที่ 4
กระบวนการทางการบริหารการศึกษา
4.1 ความคิดรวบยอดในการบริหาร
ผู้บริหารการศึกษาจะต้องมีบทลาทกระทำตามแบบระบอบของประชาธิปไตย แสวงหาความรู้อยู่เสมอ มองปัญหาเป็น รับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย มีเหตูผลและเป็นธรรม มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
4.2 กระบวนการบริหารการศึกษา
การบริหารการศึกษาจำเป็นต้องมีกระบวนการและขั้นตอนการดำเนินงานที่เป็นระบบเพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความรู้ความสามารถตามความต้องการของสังคมปัจจุบัน ซึ่งเด็กจะต้องมีการจัดหาความรู้ที่เหมาะสมซึ่งต้องมีกระบวนการบริการของโรงเรียนที่ดีด้วย
4.3 การวางแผน
การวางแผน หมายถึง การมองปัญหาที่มีอยู่และพยายามหาวิธีการแก้ปัญหา ซึ่งจะช่วยให้เกิดกิจกรรมมีระเบียบขึ้น ทำให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งการวางแผนนั้นเป็นแค่ตัวชี้วัดว่าจะทำอะไรบ้าง มีขั้นตอนอย่างไรไม่ถือว่าเป็นเป้าหมายสุดท้ายที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
4.4 ทรัพยากรบริหารการศึกษา
ผู้บริหารกิจการในสถานศึกษาจะต้องมีการดำเนินงานที่เป็นไปด้วยความราบรื่นเหมาะสมกับงาน มีงบประมาณที่เพียงพอในการจัดสรรอุปกรณ์ต่างๆ มีความเสียสละ ผลงานเป็นที่ต้องการผู้คน มีการวัดและประเมินผลการปฏิบัติงาน และมีนโยบายที่เด่นชัดสมบูรณ์

บทที่ 5
องค์การและการจัดองค์การ
องค์การหมายถึง การรวมตัวของคนสองคนขึ้นไปในการร่วมทำกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแบ่งงานออกเป็นประเภทต่างๆเพื่อให้สมาชิกได้ดำเนินการปฏิบัติเพื่อจะได้บรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งไว้
แนวคิดในการจัดองค์การนั้นจะต้องแบ่งงานตามความสามารถของบุคคล มีความคำนึง ถึงประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถและพฤติกรรมของบุคคลว่าจะให้งานประเภทใดตามความเหมาะสม
ความสำคัญขององค์การคือ เป็นที่รวมของบุคคลเพื่อจะได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถซึ่งมีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อองค์การ ต่อผู้บริหาร ต่อผู้ปฏิบัติงาน
หลักในจัดองค์การ ประกอบด้วย หลักวัตถุประสงค์ หลักความรู้ความสารถเฉพาะอย่าง หลักการประสานงาน หลักการบังคับบัญชา หลักความรับผิดชอบ หลักความสมดุล หลักความต่อเนื่อง หลักการโต้ตอบและการติดตาม หลักขอบเขตของการควบคุม หลักเอกภาพในการบังคับบัญชา หลักตามลำดับขั้นและหลักการเลื่อนตำแหล่ง
องค์ประกอบในการจัดองค์การ จะประกอบด้วย หน้าที่การบริหารงาน การแบ่งงานกันทำ การรวมและการกระจายอำนาจในการจัดองค์การ
บทที่ 6
การติดต่อสื่อสาร (Communication)
เป็นกระบวนการที่ผสานงานระหว่างบุคคล โดยวิธีการรับข้อมูล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้  ซึ่งมีกระบวนการติดต่อสื่อสาร คือ ต้องมีผู้ส่งข่าวสาร ช่องทางการส่งข่าวสาร ผู้รับสาร เสียงรบกวนที่กีดขวางการติดต่อสื่อสาร ข้อมูลป้อนกลับในการติดต่อสื่อสาร สถานการณ์และปัจจัยขององค์การในการติดต่อสื่อสาร
องค์ประกอบการติดต่อสื่อสารประกอบด้วย มีผู้ทำการติดต่อสื่อสาร การทำการติดต่อสื่อสาร ข่าวสาร ผู้รับการติดต่อสื่อสารและการตอบรับมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ข่าวสารที่เป็นจริงกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจและความพึงพอใจในการสื่อสาร
บทที่ 7
ภาวะผู้นำ (Leadership)
ภาวะผู้นำ คือผู้ที่สามารถทำให้ผู้อื่นร่วมทำงานหรือร่วมทำกิจกรรมต่างๆตามนโยบายที่เราได้วางไว้ ซึ่งภาวะผู้นำก็จะประกอบไปด้วย ผู้นำ ผู้ตาม สถานการณ์  ซึ่งประเภทผู้นำจะประกอบไปด้วยผ็นำประเภทนิเสธ และผู้นำประเภทปฏิฐาน แบบของผู้นำจะพิจารณาจากการใช้อำนาจ จากแหล่งที่มาของอำนาจ จากแนวคิดของ (Nomothetic Leader) พิจารณาตามแนวพฤติกรรมศาสตร์
หน้าที่ของผู้นำ ก็จะต้องมีความรับผิดชอบต่อองค์การ รับผิดชอบต่อผู้ใต้บังคับบัญชา รับผิดชอบต่อหน่วยงานอื่นในองค์การเดียวและต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ซึ่งผู้นำจะต้องมีลักษณะพิเศษประจำตัวคือ มีบุคลิกภาพและอุปนิสัยใจคอที่ดี มีความรู้ความสามารถในการบริหาร มีความตั้งใจสูง มีความรับผิดชอบ มีความเป็นธรรม มีใจกว้าง มีฐานะทางสังคม และมีศิลปะในการนำ
บทที่ 8
การประสานงาน (Coordination)
การประสานงาน คือการจัดระเบียบวิธีการทำงาน เพื่อให้งานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ร่วมปฏิบัติงานเป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อมุ่งหมายที่จะให้งานมีคุณภาพตามที่ต้องการและเป็นการลดปัญหาความขัดแย้งกันซึ่งหลักในการประสานงานนั้นจะต้องมีการติดต่อสื่อสารที่ดี มีระบบของความร่วมมือที่ดี มีระบบการประสานงานที่ดี มีการประสานนโยบายและวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกันและจัดให้มีการป้อนงานในรูปกระบวนการบริหารที่ครบวงจร
บทที่ 9
การตัดสินใจสั่งการหรือการวินิจฉัยสั่งการ (Decision Making)
การตัดสินใจเป็นการไตร่ตรองหาเหตุผล และตัดสินใจว่าแนวทางใดดีที่สุดในการดำเนินงานไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งหลักในการสั่งงานควรที่จะรู้ข้อชัดเจนที่แน่ชัด สั่งงานให้ตรงประเด็น มอบหมายงานให้เหมาะกับการทำงาน ต้องกล้ารับผิดชอบและยอมรับสิ่งผิดพลาดที่เกิดขึ้น ซึ่งองค์ประกอบที่ใช้ในการตัดสินใจต้องคำนึงถึงข่าวสาร การเสี่ยง นโยบาย ปัญหาต่างๆและเวลาในการวินิจฉัย
กระบวนการในการตัดสินใจประกอบด้วย การกำหนดปัญหา การค้นหาทางเลือก การประเมินทางเลือก การทำการตัดสินใจ การปฏิบัติการตามการตัดสินใจ การประเมินผลและป้อนกลับ ลักษณะของการตัดสินใจจะประกอบไปด้วย การตัดสินใจภายใต้ภาวการณ์ที่แน่นอน สภาพความไม่แน่นอน สภาพความเสี่ยง และสภาพความคลอบคลุม ซึ่งการตัดสินใจนั้นจะทำให้งานสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ก่อให้เกิดการประสานงานอันดี ช่วยประหยัดทรัพยากร ผู้ร่วมงานมีส่วนร่วมในการพัฒนาตนและพัฒนางานนำมาซึ่งความสามัคคีกลมเกลียวกัน
บทที่ 10
ภารกิจของผู้บริหารโรงเรียน

ก็จะต้องมีการบริหารวิชาการ ซึ่งมีความเดี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน การวางแผนวิชาการ การจัดแผนการเรียนการจัดการเรียนการสอน การจัดครูเข้าสอน การพัฒนาการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมการสอน การพัฒนาครูด้านวิชาการ การจัดกิจกรรมนักเรียน การวัดและประเมินผลการเรียน การประเมินผลการเรียน นอกจากนั้นยังมีภารกิจคือการบริหารบุคคลไม่ว่าจะเป็นการสรรหาและคัดเลือกบุคคล การบำรุงรักษาบุคคล การพัฒนาบุคคล นอกจากนี้แล้วยังมีภารกิจในการบริหารธุรกิจการในโรงเรียน การบริหารภารกิจในโรงเรียนและการบริหารอาคารสถานที่และบริการอื่น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น