วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

ทดสอบปลายภาคเรียน


แบบทดสอบปลายภาคเรียน

1. แท็บเล็ตกับการศึกษาไทย

            แท็บเล็ตถูกคิดค้นมากว่า 17 ปีแล้ว หรือก็คือ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2537การใช้แเท็บเล็ต ในการศึกษานั้นมีผลดีต่อนักเรียนมากมาย ไม่ว่าจะสามารถใช้แทนตำราเรียน ช่วยสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษาให้กับเด็กทำให้ครูสามารถนำรูปภาพ วีดิโอคลิป และข้อมูลข่าวสารต่างๆมาสอนนักเรียน เพื่อใช้สร้างบทเรียนที่น่าสนใจให้แก่นักเรียน ทำให้นักเรียนตั้งใจเรียนมากขึ้น  สามารถนำแอพพลิเคชั่นมาเป็นสื่อในการสอน สามารถนำมาจดบันทึกในการเรียน พกพาได้สะดวก สามารถเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึง  ค้นหาข้อมูลต่างๆได้อย่างรวดเร็ว

            นอกจากนี้แล้วแท็บเล็กก้อยังมีข้อเสียคือ เด็กจะอยู่คนเดียว เล่นคนเดียว หรือเล่นกับเพื่อนสองสามคนมีปัญหาเรื่องสายตา มีการออกกำลังกายน้อยลงทำให้มีปัญหาเรื่องด้านสุขภาพอื่นๆตามมา และเป็นการปูพื้นฐานให้เด็กคุ้นเคยกับการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ ทำให้ผลการเรียนตกต่ำลง เนื่องจากติดเกมส์

ที่มา

            http://hilight.kapook.com/view/58347



 

          2. การเตรียมตัวของประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน และการเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่ประชาคมอาเซียน

            วัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้ในปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration) มี 7 ประการ ดังนี้

1. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม
2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร
4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต
6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
7. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ

            การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในครั้งนี้ ประเทศไทยและประเทศต่างๆมีการเตรียมตัวและเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสร้างคนในประเทศให้เป็นคนของสมาคมอาเซียน การพัฒนาด้านการศึกษา โดยเฉพาะประเทศไทยจะมีการร่วมมือกันทางด้านศึกษาได้แก่ ด้านพัฒนาคุณภาพการศึกษา การขยายโอกาสทางการศึกษา ส่งเสริมาการมีส่วนร่วมในการบริการและจัดการศึกษา ส่วนในด้านการเรียนการสอนนั้นครูผู้สอนจะต้องสอนให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียนในด้านต่างๆรวมถึงมีการส่งเสริมการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสานระหว่างกันในประชาคมอาเซียนและมีการเพิ่มครูที่สอนภาษาอังกฤษในทุกระดับชั้นและมีการร่วมมือกับภาคเอกชนในการรับอาสาสมัครเข้ามาสอนภาษาต่าง ประเทศ รวมถึงวัฒนธรรมของประเทศต่างๆเพื่อการอยู่ร่วมกันด้วยความเข้าใจกันของ ประเทศในประชาคม

ที่มา

            http://hilight.kapook.com/view/67028


            http://blog.eduzones.com/aec/85546

 

          3. ความเป็นครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง

            การที่ครูจะเป็นผู้นำทางด้านวิชาการหรือทางด้านการสอนนั้น ครูจะต้องมีพฤติกรรมดังนี้ คือ            

            1. หนังสือที่ติดอันดับขายที่ดีที่สุดมาอ่าน เพื่อเราจะได้รู้ถึงความรสนิยมความต้องการของบุคคลต่างๆและความเคลื่อนไหวของทุกมุมโลกเพื่อจะได้บอกต่อให้กับผู้อื่นได้รู้ตามด้วย

            2. อยู่กับปัจจุบัน/ทันสมัย การเป็นครูที่มีภาวะผู้นำนั้นจะต้องก้าวทันกับโลกปัจจุบันรูจักนำเครื่องมือที่ทันสมัยมาใช้ในการเรียนการสอน รู้ทันข่าวสารและเหตุการณ์บ้านเมืองในปัจจุบันเพื่อจะได้ปรับตัวให้เข้ากับสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆได้ทันท่วงที

            3. หาข้อมูลมีความรู้ที่เกี่ยวกับเด็ก ครูที่เป็นผู้นำในการสอนที่ดีนั้นจะต้องนำความรู้ต่างๆมาให้เด็กนักเรียนได้รู้จักนำมาวิเคราะห์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลหรือความรู้ใหม่ๆในวิชาที่สอนหรือจะเป็นความรู้หรือข้อมูลข่าวสารอื่นที่จะเป็นประโยชน์แก่ตัวของนักเรียนเอง

            4. ทำให้นักเรียนแสดงออกซึ่งการเป็นภาวะผู้นำ ในการที่ครูเป็นภาวะผู้นำให้แก่นักเรียนแล้ว ครูจะต้องให้นักเรียนได้รู้จักฝึกการเป็นภาวะผู้นำด้วย เช่น ให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆที่อาจารย์ได้พูดยกตัวอย่างให้นักเรียนได้ฟัง หรือการให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนการเป็นตัวแทนในการจัดกิจกรรมต่างๆ

            5. กำหนดให้เด็กทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม เพราะการที่จะสร้างเด็กให้มีคุณภาพนั้นไม่ได้อยู่ที่เด็กมีความรู้ที่ดีเพียงอย่างเดียวแต่เด็กจะต้องรู้จักการทำงานเป็นทีม รู้จักการเสียสละ รู้จักการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเด็กเหล่านี้จึงจะสามารถเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคตได้

            6. เชิญบุคคลภายนอกมาพูดให้เด็กฟัง นอกจากการที่ครูจะสอนและให้ความรู้กับนักเรียนในเรื่องต่างๆแล้ว ครูที่มีภาวะความเป็นผู้นำที่ดีนั้นจำต้องมีการเชิญวิทยากรหรือผู้มีความรู้เฉพาะทางมรให้ความรู้แก่นักเรียนเพื่อเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศให้กับนักเรียน ทำให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้นและได้รับความรู้ประสบการณ์ใหม่ๆมากขึ้นด้วย

            7.  ท้าทายให้เด็กคิด ในจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพนั้นจะต้องนั้นจะต้องนำความรู้ต่างๆมาให้นักเรียนได้คิดวิเคราะห์อยู่เสมอ เช่น มีการตั้งคำถามแล้วให้นักเรียนได้อภิปรายร่วมกันจนสามารถหาคำตอบได้อย่างถูกต้องและสมเหตุสมผล เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเป็นคนรู้จักคิดและคิดได้ในหลายหลายแง่มุม

 

        4. ความคิดเห็นในการใช้บล็อก   โอกาสในการใช้บล็อกในอนาคต และเกรดที่คาดว่าจะได้

                ในการนำบล็อกมาเป็นสื่อในการเรียนการสอนนั้นมีประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการอำนวยให้เกิดความสะดวกสบายทั้งครูผู้สอนหรือตัวของนักเรียนเอง ซึ่งคุณครูสามารถสั่งการบ้าน ให้ใบความรู้หรือให้นักเรียนสอบผ่านบล็อกได้เลย และนักเรียนก็สามารถอ่านใบความรู้ ส่งการบ้านและทำข้อสอบได้อย่างสะดวกมากกว่าการที่จะต้องเขียนส่ง นอกจากนี้แล้วทำให้นักเรียนได้รู้ถึงกรอบความคิดและความสร้างสรรค์ของเพื่อนๆในแต่ละคน ได้รู้จักการทำลิงค์ต่างๆ รู้จักการความคิดสร้างสรรค์มาจัดตกแต่งบล็อกให้สวยงามและน่าสนใจ ได้รู้วิธีการใช้บล็อกให้เกิดความรู้และประโยชน์สูงสุด

            ในอนาคตข้องหน้าในฐานะที่เราจะต้องก้าวไปเป็นครู เรามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องนำบล็อกมาใช้ไม่ว่าจำเป็นการส่งงาน ดูความเคลื่อนไหวของโรงเรียน ความคิดเห็นของบุคลากรต่างในโรงเรียน และเรายังสามารถนำบล็อกมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนให้แก่นักเรียนต่อได้อีกด้วย เพื่อนักเรียนจะได้รู้จักการใช้สื่อที่ทันสมัยและนำการคอมพิวเตอร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางด้านการเรียนรู้อย่างสูงสุดที่นอกเหนือจากความบันเทิง

            ในการเรียนวิชาหลักการบริหารจัดการในชั้นเรียนคาดว่าน่าจะได้เกรด A เพราะว่าเข้าเรียนทุกครั้ง แม้ว่าบางครั้งจะมาสายบ้าง ส่งงานตามเวลาที่อาจารย์มอบหมายให้ทุกครั้งและครบทุกชิ้น ตั้งใจทำงานอย่างสุดความสามารถ ไม่ลอกเพื่อนคนอื่น และมีการค้นหาความรู้เพิ่มเติมมาประกอบในการตอบคำถาม

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 9


การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน

          ในการจัดการเรียนการสอนที่ดีนั้น สถานที่นั่งเรียนจะต้องมีอากาศที่ปลอดโปร่งถ่ายเทได้อย่างสะดวก ไม่มีสิ่งภายนอกมารบกวนระหว่างทำการเรียนการสอน มีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ในการสอนเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจในการเรียนและกระตือรือร้นในการเรียนเพิ่มมากขึ้นในการจัดสถานที่นั่งเรียนนั้นต้องจัดให้เหมาะสม สะดวกสบายแก่นักเรียนและเพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสเรียนรู้อย่างทั่งถึงกันทุกคน

วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 8


ครูในอุดมคติ

          ต้องเป็นคนที่รักเด็ก เข้าใจเด็ก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาหรือความต้องการของเด็ก ต้องสอนอย่างทั่งถึง ไม่มีความลำเอียงทั้งในเรื่องการให้ความรู้ หรือการตัดสินใจทำการต่างๆลงไป ให้ความรักต่อศิษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน ให้วิชาความรู้อย่างเต็มความสามารถ ไม่ปิดบังความรู้ใดๆ สอนด้วยความรักด้วยความห่วงใยและด้วยความปรารถนาที่ดี มีสติในการสอน ไม่ใจร้อนและไม่วู่วามในการตัดสินหรือกระทำการใดๆ และที่สำคัญคือเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ศิษย์ได้ประพฤติปฏิบัติตาม

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน

บทความที่ 1
1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
การจัดการศึกษาควรมุ่งเน้นความสำคัญทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ และคุณธรรม การจัดกระบวนการเรียนรู้ควรมีการมุ่งเน้นการฝึกทักษะการคิดของผู้เรียน ฝึกให้ผู้เรียนมีความคิดที่สร้างสรรค์ คิดได้ด้วยตนเอง โดยครูเป็นเพียงผู้ชี้นำและใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างผู้เรียน ซึ่งสอดคล้องกับแนวการจัดการ เรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิด ซึ่งการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิดนั้น เป็นการสอนเพื่อเน้นการพัฒนาทางด้านทักษะและความเข้าใจ และการคิดเชิงคณิตศาสตร์ รู้จักการแก้ปัญหา และลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง รวมทั้งมีการประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งการเรียนรู้แบบสอนแนะให้รู้คิดนั้นทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้นกว่าการสอนแบบเดิมมากจนเห็นได้อย่างชัดเจน

        2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
จะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ฝึกการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง  เช่น การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ใช้ความคิดในการแก้ปัญหาในด้านต่างๆอย่างสรรค์โดยไม่จำกัดวิธีการในการแก้ปัญหา มีการตั้งคำถามเพื่อให้นักเรียนเกิดความคิดในการแก้ปัญหาและเป็นกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในการเรียนมากยิ่งขึ้น

3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
มีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์มาเป็นตัวช่วยในการเรียนการสอน มีการตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนได้แสดงความสามารถในการคิด และการแก้ปัญหา มีการสอนนอกห้องเรียนเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริง และจัดให้นักเรียนได้ทำงานเป็นกลุ่มเพื่อจะได้เสนอความต้องการของตนเอง รู้จักแนวคิดและความต้องการของบุคคลภายในกลุ่ม เพื่อจะได้มีโอกาสได้สร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน และร่วมกันแก้ปัญหาที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายด้วยกันได้

บทความที่ 2
1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
พระเจ้าอยู่หัวไม่ได้ทรงครองราชย์เพียงอย่างเดียวแต่ทรงสอนและให้ความรู้ ให้แนวคิดต่างๆแก่ประชาชนต่างๆด้วย พระเจ้าอยู่ทรงเป็นครูที่ให้ความรู้มากมายให้ความรู้โดยไม่ปิดบังความรู้ ให้ความรู้อย่างที่มหาวิทยาลัยใดก็ไม่สามารถที่จะให้กับเราได้ พระเจ้าอยู่หัวทรงสอนในการดำรงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นความรู้ในการทำการเกษตร  การสอนให้รู้จักเห็นความสำคัญกับเรื่องเล็กๆรอบตัวของเรา ทรงเป็นครูที่รู้จักนำเทคโนโลยีมาพัฒนาเกิดประโยชน์สูงสุด และที่สำคัญพระเจ้าอยู่หัวทรงนำแนวทางและคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนามาเป็นแนวทางในการปกครองราชย์เพื่อให้ประชาชนคนได้ทุกคนใช้ชีวิตอย่างพอเพียง และใช้ชีวิตอย่างปกติสงบสุข
        2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
จะใช้วิธีการสอนโดยนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้โดยสอนให้นักเรียนได้รู้จักใช้ชีวิตอย่างพอมีพอกิน รู้จักประหยัดอดออม นอกจากนั้นจะสอนให้นักเรียนได้รู้จักอนุรักษ์วิถีชีวิตของแต่ละชุมชนของนักเรียนเอง  ให้นักเรียนได้รู้จักการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดความรู้และประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และจะให้ความรู้แก่นักเรียนอย่างเต็มความสามารถ ให้คะแนนแก่นักเรียนด้วยความยุติธรรมและเป็นครูที่มีแบบอย่างที่ดีให้แก่นักเรียนทุกคน
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
จะออกแบบการสอนโดยให้นักเรียนได้ออกไปสัมผัสกับสถานการณ์จริง ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ได้ฝึกลงมือทำด้วยตนเอง จะสอนให้นักเรียนรู้จักใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์และนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสามารถก้าวทันต่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยีต่างๆได้ และสอนให้นักเรียนได้ศึกษาถึงวิถีการดำเนินชีวิตในท้องถิ่นของตนเองรวมไปถึงภูมิปัญญาต่างๆในท้องถิ่นของตนเองและสามารถจัดทำผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเองได้

 

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 7


1.    เรื่องที่สอน วิกฤติน้ำท่วม

Ø ครูผู้สอน ว่าที่ร้อยตรีสชญา หล้าอินเกื้อ

Ø ระดับชั้นที่สอน ม.5 วิชา สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โรงเรียนเสริมงานวิทยาคม จ.ลำปาง

2.    เนื้อหาที่สอน

           สอนเกี่ยวกับพัฒนาการของธรรมชาติรวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ สาเหตุของภัยพิบัติทางธรรมชาติและวิธีป้องกันและแนวทางแก้ปัญหา

3.    กิจกรรมการสอนด้านสติปัญญา อารมณ์ คุณธรรมจริยธรรม

     จะสอนเกี่ยวกับวิกฤติน้ำท่วมแล้วเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ปัจจุบันและมีการนำขาวมาให้นักเรียนได้ดู หลังจากนั้นให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น แล้วให้นักเรียนแบ่งกลุ่มเพื่อให้นักเรียนแต่ละกลุ่มได้เลือกเรื่องที่สนใจจะศึกษาที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แล้วมานำเสนอหน้าชั้นเรียนแล้วให้นักเรียนทุกคนได้เลือกว่าโครงการอะไรน่าสนใจที่สุดเมื่อได้แล้วก็มีการดำเนินตามโครงการที่วางไว้ ซึ่งทุกคนจะได้มีโอกาสได้ร่วมกันทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ทำให้ผู้เรียนมีความสุขกับการได้ทำหน้าที่ที่ตนเองได้เลือกสรร และทำให้ผู้เรียนได้มีจิตสำนึกในการรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและรู้จักที่จะบอกต่อให้นักเรียนรุ่นน้องได้ตระหนักและเห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย

4.    การจัดชั้นเรียน

           เป็นการจัดชั้นเรียนที่นั่งแบบสบายเรียงหน้ากระดาน ไม่แออัดสะดวกต่อการทำกิจกรรมต่างๆในชั้นเรียน และมีการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่เป็นธรรมชาติและมีความร่มรื่นเหมาะแก่การเรียนรู้นอกชั้นเรียน

กิจกรรมที่ 6

กิจกรรมที่ 5

นายจตุรพัฒน์ วิไลรัตน์ ครูดีเด่นปี 2551



Ø  ประวัติการศึกษา
จบการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาโท ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.บ.)วิชาเอกพื้นฐานการศึกษา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มรับราชการเป็นครูครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2518
ปัจจุบันเป็นครูสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-3) โรงเรียนวัดสันติธรรม อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ครูจตุรพัฒน์ เป็นครูด้วยจิตวิญญาณ มีความรักและศรัทธาในอาชีพครู ตลอดระยะเวลาที่ทำการสอนมามากกว่า 33 ปี ได้สร้างความประทับใจ ความภูมิใจ และเป็นแบบอย่างที่ดี เป็นที่ศรัทธายอมรับของนักเรียน เพื่อนครู ชุมชนและสังคม ให้ความรัก ความเมตตาศิษย์ อบรมสั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้เกิดแก่ศิษย์ อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ

Ø  ผลงานด้านการเรียนการสอน
ครูจตุรพัฒน์ จะเน้นการเรียนรู้โดยผู้เรียนเป็นสำคัญ เนื่องจากนักเรียนที่สอนเป็นนักเรียนที่ด้อยโอกาส มีสติปัญญาในระดับปานกลางถึงอ่อนและอ่อนมาก แต่คุณครูจตุรพัฒน์ ได้พยายามจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยให้โอกาสแก่นักเรียนในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตามศักยภาพของตนเอง จากการปฏิบัติงานที่เสียสละและทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจ ส่งผลให้ คุณครูจตุรพัฒน์ ได้รับโล่รางวัลเกียรติยศ/ครูดีเด่น/รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ ณ ปัจจุบันรวมทั้งสิ้น 45 รางวัล อาทิ ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ดีเด่น ระดับประเทศ ปี พ.ศ. 2528,2533 ครูต้นแบบสาขาคณิตศาสตร์ ปี 2548,2549 และ2550 (3 ปีซ้อน) ครูเกียรติยศ(Teacher Award ) ปี พ.ศ.2550 รางวัล Best Practies วิธีการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ สาขาคณิตศาสตร์ ปี พ.ศ. 2550 และ รางวัลผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ที่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณสร้างคุณประโยชน์ในด้านการศึกษาให้แก่ประเทศชาติ ของคุรุสภา ปี 2550 ฯลฯ
ครูจตุรพัฒน์ เป็นผู้ที่ครองตน ครองคน และครองงาน ปฏิบัติตนตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ ได้อย่างเหมาะสมดีเยี่ยม อุทิศเวลาให้แก่ทางราชการ ด้านการสอน และร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งผลและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อนักเรียน ต่อโรงเรียน ต่อชุมชน นันทนาการ ทั้งในเชิงสร้างสรรค์อนุรักษ์ และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมไทยได้เป็นอย่างดี ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าวิชาการของโรงเรียนวัดสันติธรรม วิชาการเครือข่ายที่ 5 เป็นวิทยากรผู้ชำนาญการ ให้การสนับสนุนนักเรียนจนสามารถ เป็นเยาวชนดีเด่นในประเภทต่างๆ ทั้งด้านวิชาการ กีฬาและกองเชียร์ และทางด้านศาสนา ให้การสนับสนุนกิจกรรมของโรงเรียน และชุมชนอย่างเต็มกำลังความสามารถ ทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจ และกำลังทรัพย์ ช่วยเหลือพัฒนาทั้งในและนอกโรงเรียนการบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือนักเรียน และโรงเรียนอย่างสร้างสรรค์เต็มใจและจริงใจ สม่ำเสมอตลอดมา สมกับประโยคที่ว่า"ครูผู้เป็นแบบอย่างที่ดี ด้านคุณธรรม จริยธรรม นำความรู้เพื่อเพื่อนครูและสอนนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ"

Ø  ผลงานของครูที่นักเรียนชอบ
 ครูต้นแบบสาขาคณิตศาสตร์ ปี 2548,2549 และ2550 (3 ปีซ้อน)และ รางวัลผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ที่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณสร้างคุณประโยชน์ในด้านการศึกษาให้แก่ประเทศชาติ ของคุรุสภา ปี 2550

Ø  การประยุกต์สิ่งที่ดีของครูมาใช้ในการพัฒนาตนเอง
       ในการสอนนักเรียนนั้นจะมีความพยายามในการสอนอย่างเต็มความสามารถ มีความเสียสละและทุ่มเทกับหน้าที่ เป็นครูที่ดีและเป็นที่ไว้วางใจของลูกศิษย์ จะปฏิบัติตนและยึดแนวทางที่ดี มีคุณธรรมจริยธรรม ให้คำปรึกษาที่ดี มีความยุติธรรม และปรับปรุงตนให้มีศักยภาพที่ดีเพื่อจะได้พัฒนาลูกศิษย์ให้จบออกไม่อย่างมีคุณภาพและมีคุณธรรม

วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 4


กิจกรรมที่4

แนวคิดหลักในการเป็นทีมนั้นก็เพื่อที่มุ่งหวังให้งานที่ทำนั้นมีประสิทธิภาพที่สูงสุด เพราะการทำงานเป็นทีมนั้นต้องมีการร่วมมือกันจากบุคคลหลายๆบุคคล จึงทำให้มีโอกาสที่จะได้วางแผนที่ดี มีระบบทำงานที่ดี ปลูกฝังความสามัคคี มีความเสียสละ รู้จักภาวะ การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำงาน และฝันฝ่าอุปสรรคไปด้วยกัน จนทำให้ผลงานที่ร่วมกันทำด้วยกันนั้นประสบความสำเร็จออกมาอย่างที่ตั้งใจไว้

ซึ่งวิธีการทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพได้นั้นทุกคนก็จะต้องยอมรับความเหมือนและความแตกต่างและอุปนิสัยของบุคคลในทีมได้ รู้จักการเสียสละ นำประสบการณ์ของแต่คนมาเป็นความรู้และวิธีการในการดำเนินงานให้เป็นประสิทธิภาพ และต้องมีการวางแผนในการทำงานอย่างเป็นระบบ เช่น ในวันแรกทุกคนมีหน้าที่ร่วมกันร่างแผนการปฏิบัติงาน วันที่สองอธิบายจุดประสงค์ของงานที่เราจะต้องทำร่วมกัน วันที่สามแบ่งหน้าที่การทำงาน อีกห้าวันรวบรวมชิ้นงานและประเมินผลชิ้นงาน วันต่อไปก็มีการแก้ไขจุดบกพร่องของชิ้นงาน หลังจากนั้นก็รวบรวมชิ้นงานอีกครั้งและทำการประเมินชิ้นงานใหม่ หากเห็นพร้อมกันว่าชิ้นงานนั้นมีประสิทธิภาพที่ดีแล้วก็จะจัดทำการเรียบเรียงชิ้นงาน และทำการวิเคราะห์และประเมินผลต่อไป

กิจกรรมที่ 3


กิจกรรมที่3

การจัดการเรียนการสอน จัดชั้นเรียน เตรียมการสอน ในก่อนยุคศตวรรษที่ 21 เป็นการเน้นให้นักเรียนเรียนรู้โดยใช้วิธีการจำ ใครมีความจำดี หรือสามารถความจำที่ดีก็สามารถเรียนรู้ได้ดี แต่ถ้าใครมีความจำที่ไม่ดีก็ไม่สามารถที่จะเรียนได้ดีเหมือนคนอื่นที่จดจำได้ดี ส่วนการจัดการเรียนการสอน จัดชั้นเรียน เตรียมการสอน ในยุคศตวรรษที่ 21 เป็นการเรียนที่มีความความหลากหลาย มีมุมมองที่กว้างไกล การเรียนการสอยจึงเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นความเข้าใจ มีอิสระในความคิด สามารถประเมินตนเองได้ ทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวคือการเรียนรู้ มีเทคโนโลยีใหม่ๆมาอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน จึงทำให้นักเรียนมีประสิทธิภาพที่ดีและมีความสามารถอย่างเต็มศักยภาพ

ดังนั้นในอนาคตข้างหน้าครูผู้สอนจะต้องมีสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายมาใช้ในการจักการเรียนการสอนเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยเอง ให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีอิสระในความคิด และมุ่งสงเสริมให้นักเรียนรู้ตนเองและพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้น เพื่อนักเรียนจะได้เรียนรู้อย่างมีความสุข




วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2

ทฤษฎีการบริหารศึกษา

มาสโลว์


มาสโลว์ เป็นเจ้าของทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ 5 ลำดับ นอกจากนั้นยังเป็นผู้วางรากฐานจิตวิทยามนุษย์นิยม และได้พัฒนาทฤษฎีแรงจูงใจ ซึ่งเขามีความเชื่อว่า มนุษย์มีแนวโน้มที่จะมีความต้องการอันใหม่ที่สูงขึ้น และมาสโลว์ แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน ได้แก่ 1.ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) 2.ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs) 3. ความต้องการทางสังคม(Social Needs) 4.ความต้องการยกย่องชื่อเสียง (Esteem Needs) และ 5.ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิต
             มาสโลว์ตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับความต้องการมนุษย์ไว้ว่า มนุษย์มีความต้องการอยู่เสมอ ความต้องการที่ได้รับการตอบสนองแล้วจะไม่เป็นสิ่งจูงใจของพฤติกรรมนั้น ๆ อีกต่อไป และความต้องการของมนุษย์จะเรียงกันเป็นลำดับขั้น ตามความสำคัญ


Douglas Mc Gregor : ทฤษฎี X และทฤษฎี Y



เป็นทฤษฎีการมองต่างมุม คือไม่มีใครที่ไม่มีข้อดีเลย คงไม่มี และไม่มีใครที่ดีไม่หมดทุกอย่าง และไม่ควรมองว่าเขาดีไปหมดหรือไม่ดีไปหมดเมื่อได้ผลประโยชน์หรือเสียผลประโยชน์ ซึ่งทฤษฎี X(Theory X) เป็นปรัชญาการบริการจัดการที่มองว่าพนักงานเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ไม่ชอบงานและพยายามหลีกเลี่ยงงาน ส่วนทฤษฎีY(Theory Y) เป็นปรัชญาการบริการจัดการ ที่มองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบ มีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาในการทำงาน ซึ่งแมคเกรเกอร์ ได้เรียกร้องให้ผู้บริหารเปลี่ยนแปลงมุมมองมนุษย์จากมุมมองตามทฤษฎี X ไปเป็นมุมมองตามทฤษฎี Y


William Ouchi : ทฤษฎี Z

ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีเป็นทฤษฎีที่ผสมระหว่างญี่ปุ่นกับอเมริกัน ซึ่ง วิลเลียม โอชิ เป็นคนคิดขึ้นมา ลองศึกษาแนวคิด โดยมองเห็นว่าการจูงใจคนนั้นต้องเป็นไปตามสถานการณ์ ซึ่งวิลเลี่ยม โอชิ นั้นมีแนวความคิดในการบริหารจัดการของโลกนั้นที่ แบ่งออกเป็น 2 ค่าย คือ ค่ายอเมริกัน และค่ายญี่ปุ่น เพราะเขามองว่า ในค่ายอเมริกันนั้น มักประสบความสำเร็จในธุรกิจ ดังนั้นวิลเลี่ยม จึงศึกษาถึงจุดดีของการบริหารจัดการจากสองค่ายนำมาสร้างเป็นแนวคิดขึ้นและได้มองว่า การที่จะทำความเข้าใจทฤษฎี Z ได้นั้น ต้องทำความเข้าใจของทฤษฎี A และทฤษฎี J ก่อนแล้วนำข้อดีข้อเสียของทฤษฎี A และทฤษฎี Jมาวิเคราะห์ผสมผสานให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เรียกว่า ทฤษฎี Z ซึ่งเป็นแนวคิดของการบริหารจัดการเชิงจินตนาการ โดย ใช้วิธีแบบ การจ้างงานระยะยาวขึ้น จะต้องมีความรับผิดชอบส่วนบุคคล และการตัดสินใจต้องทำเป็นทีม ต้องมีการพูดคุย ถึงผลดีผลเสียของการบริหารจัดการแบบต่างๆ


Henry Fayol : บิดาทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่
เป็นบิดาของทฤษฎีการจัดการการปฏิบัติการ เขาเชื่อว่าการบริหารนั้นเป็นเรื่องของทักษะ และเขาสนใจที่จะศึกษาองค์การโดยรวมและมุ่งเน้นที่กิจกรรมการจัดการ ซึ่งประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์การ การบังคับบัญชา หรือการสั่งการ การประสานงาน และ การควบคุม



อังริ ฟาโยล (Henri Fayol) 
       
เป็นนักอุตสาหกรรม ชาวฝรั่งเศส ได้นำเสนอหลักการทีเขาเรียกว่า หลักการจัดการ 14ประการ ซึ่งมีดังต่อไปนี้ คือ
1. การจัดแบ่งงาน
2. การมีอำนาจหน้าที่
3. ความมีวินัย

4. เอกภาพของสายบังคับบัญชา
5. เอกภาพในทิศทาง
6. ผลประโยชน์ของหมู่คณะจะต้องเหนือผลประโยชน์ส่วนตน
7. มีระบบค่าตอบแทนที่ยุติธรรม
8. ระบบการรวมศูนย์
9. สายบังคับบัญชา
10. ความเป็นระบบระเบียบ
11. ความเท่าเทียมกัน
12. ความมั่นคง และสามัญฐานะของบุคลากร
13. การริเริ่มสร้างสรรค์
14. วิญญาณแห่งหมู่คณะ

แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber)
แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) เป็นนักสังคมวิทยา ชาวเยอรมัน ได้นำเสนอแนวคิดการจัดองค์การ ที่เรียกว่า bureaucracy ซึ่งเขาเห็นว่าเป็นลักษณะองค์การที่เป็นอุดมคติที่องค์การทั้งหลายควรจะเป็น หากได้รับการพัฒนาในระดับที่เหมาะสม โดยสรุปแล้วแนวคิดการจัดองค์กรของเว็บเบอร์มี 6ประการ คือ
1. องค์การต้องมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ เพื่อให้แต่ละส่วนงานได้มีโอกาสทำงานในส่วนที่ง่ายพอ และมีการกำหนดงานนั้นๆให้ชัดเจนและไม่สับสน
2. องค์การนั้นต้องมีสายบังคับบัญชาตามลำดับ
3. ระบบการคัดเลือกคนนั้นต้องกระทำอย่างเป็น
4. องค์การต้องมีระเบียบ และกฏเกณฑ์
5. ความไม่เลือกที่รักมักที่
6.
การแยกระบบการทำงานออกเป็นสายอาชีพ



Luther Gulick

เป็นผู้คิดรูปแบบการบริหารจัดการโดยมีกิจกรรม 7 ประการมาใช้ในการบริหารเพื่อจะได้รู้จัก ดังนี้
            1. P คือการวางแผน (planning)
2. O คือการจัดองค์การ (organizing)
3. D คือการสั่งการ(directing)
4. S คือการบรรจุ (staffing)
5. CO คือการประสานงาน(co-ordinating)
6. R คือการรายงาน (reporting
7. B คือการงบประมาณ(budgeting)



Frederick Herzberg

เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจโดยเฟรเดอริค เฮิร์ซเบอร์ก (Frederick Herzberg)เฮิร์ซเบอร์กได้ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับแรงจูงใจของคน ซึ่งเขาได้ผลสรุปว่าแรงจูงใจของมนุษย์จะประกอบด้วย2 ปัจจัย คือ
1. ปัจจัยภายนอกหรือเรียกว่า
Hygiene Factors
2. ปัจจัยภายใน หรือ
Motivation Factors
นอกจากนี้เฮิร์ซเบอร์กยังบอกอีกว่าองค์กรควรจะให้คนทำงานที่ท้าทายอย่างเต็มความสามารถ พนักงานที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องได้รับการเพิ่มความรับผิดชอบให้สูงขึ้นและหากงานไม่มีความท้าทายก็จะทำให้คนทำงานไม่ทำงานอย่างเต็มความสามารถแล้วจะเกิดปัญหาในเรื่องของแรงจูงใจในการทำงาน




Taylor : ทฤษฏีการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์


เทย์เลอร์ ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ ปรัชญาการบริหารของเทย์เลอร์ได้แก่
1.ทำการศึกษางานแต่ละส่วนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการทำงานแต่ละอย่าง
2.ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการคัดเลือกและการฝึกอบรมพนักงานและมอบหมายความรับผิดชอบให้ทำงานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคน
3. มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและพนักงาน
4. แบ่งงานและความรับผิดชอบในงานเป็นส่วนต่าง ๆ



Henry L. Gantt 
 
เป็นผู้พัฒนาการอธิบายแผนโดยใช้กราฟ (Gantt Chart) ซึ่งแนวคิดของGilbreth เน้นการกำจัดความสิ้นเปลือง และความไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน





บทที่1
มโนทัศน์เกี่ยวกับการบริหารจัดการ
การบริหาร หมายถึง การจัดการกิจการหรือควบคุมกิจการของหน่วยรัฐ ตามนโยบายที่รัฐได้วางไว้
ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 25 (ค.ศ.18) จนถึงสงครามโลกครั้งที่ 1ความหมายของการบริหารเน้นไปทางรัฐประศาสนศาสตร์เป็นหลักยังไม่มีความสนใจในการบริหารธุรกิจและอุตสาหกรรม ส่วนในมหาวิทยาลัยได้ค้นคว้าพัฒนาการในการบริหารซึ่งถือว่าเป็นศาสตร์สาขาหนึ่ง
ความสำคัญของการบริหาร
           การบริหารเป็นสิ่งที่เจริญเติบโตพร้อมมนุษย์และทำให้สังคมมนุษย์มีอยู่กันอย่างปกติสุข มีความก้าวหน้า มีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วขึ้น แต่ก็มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดความเสื่อมของสังคมเช่นเดียวกันและทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมทางการเมืองด้วย

บทที่ 2
วิวัฒนาการของการบริหารยุคต่างๆ
และการประยุกต์ใช้ในการบริหารศึกษา

2.1 วิวัฒนาการด้านรัฐกิจ

ระยะ 1 (ค.ศ. 1887 – 1945) โครงการบริหารจะเป็นไปในรูปองค์การรูปนัย ( Formal Organization) โดยถือเอาคัมภีร์ของ Woodrow Wilson
ระยะที่  2 ( ค.ศ. 1954 – 1958) การศึกษาเรื่องการบริหาร หันมาเน้นพฤติกรรมองค์การ และเรื่องของมนุษยสัมพันธ์ของคนมากขึ้น
ระยะที่ 3 ( ค.ศ. 1958 - ปัจจุบัน) การศึกษาหันมาผสมผสานแนวคิดในระยะ 1และ 2 เข้าด้วยกันคือ พิจารณาทั้งรูปแบบ โครงสร้างขององค์การและตัวบุคคล เป็นองค์ประกอบสำคัญ
2.2 วิวัฒนาการด้านธุรกิจ
                 ใน ศตวรรษที่  19 ( ในปี ค.ศ. 1893) มีวิธีการบริหารที่ทันสมัยขึ้น ประกอบกับเทคโนโลยีทางอุตสาหกรรมที่เจริญอย่างรวดเร็ว และมีการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นผลของวิวัฒนาการสมัยใหม่ระยะแรก และนำไปสู่การจัดการที่ดี
2.3 การแบ่งยุคของนักทฤษฎีการบริหาร
แบ่งเป็นยุคที่ 1นักทฤษฎีการบริหารสมัยเดิม การประยุกต์ใช้หลักการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ในการบริหารศึกษา ยุคที่ 2 ยุค Human Relation Era ทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ การประยุกต์หลักมนุษยสัมพันธ์ในการบริหารการบริหารการศึกษา ยุคที่ 3 ยุคการใช้ทฤษฎีการบริหาร การประยุกต์ใช้พฤติกรรมศาสตร์ในการบริหารการและการประยุกต์เชิงระบบในการบริหารการศึกษา
บทที่ 3
งานบริหารการศึกษา
3.1 งานของผู้บิหารศึกษา แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ งานที่คนนอกมองว่าเป็นงานที่ผู้บริหารกำลังทำอยู่ งานที่คนนอกคิดว่าผู้บริหารควรทำและงานที่ตัวผู้บริหารการศึกษาคิดว่าเป็นความรับผิดชอบที่ตนต้องทำ จะมีใครกำหนดหรือไม่ก็ตาม
3.2 ภารกิจของการบริหารการศึกษา เป็นการวิจัยหลายเรื่องในสหรัฐเกี่ยวกับงานบริหาร หรือบทบาทหน้าที่ ซึ่งผู้บริหารการศึกษา จะต้องทำหรือควรทำ ซึ่งมีผลวิจัยแตกต่างกัน
3.3 ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้บริหาร ผู้บริหารจำเป็นจะต้องมีมีความรู้ความสามารถ และมีทักษะ 3 ทักษะคือ ทักษะในคตินิยม ทักษะในทางมนุษยสัมพันธ์และมีทักษะทางเทคนิค
บทที่ 4
กระบวนการทางการบริหารการศึกษา
4.1 ความคิดรวบยอดในการบริหาร
ผู้บริหารการศึกษาจะต้องมีบทลาทกระทำตามแบบระบอบของประชาธิปไตย แสวงหาความรู้อยู่เสมอ มองปัญหาเป็น รับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย มีเหตูผลและเป็นธรรม มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
4.2 กระบวนการบริหารการศึกษา
การบริหารการศึกษาจำเป็นต้องมีกระบวนการและขั้นตอนการดำเนินงานที่เป็นระบบเพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความรู้ความสามารถตามความต้องการของสังคมปัจจุบัน ซึ่งเด็กจะต้องมีการจัดหาความรู้ที่เหมาะสมซึ่งต้องมีกระบวนการบริการของโรงเรียนที่ดีด้วย
4.3 การวางแผน
การวางแผน หมายถึง การมองปัญหาที่มีอยู่และพยายามหาวิธีการแก้ปัญหา ซึ่งจะช่วยให้เกิดกิจกรรมมีระเบียบขึ้น ทำให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งการวางแผนนั้นเป็นแค่ตัวชี้วัดว่าจะทำอะไรบ้าง มีขั้นตอนอย่างไรไม่ถือว่าเป็นเป้าหมายสุดท้ายที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
4.4 ทรัพยากรบริหารการศึกษา
ผู้บริหารกิจการในสถานศึกษาจะต้องมีการดำเนินงานที่เป็นไปด้วยความราบรื่นเหมาะสมกับงาน มีงบประมาณที่เพียงพอในการจัดสรรอุปกรณ์ต่างๆ มีความเสียสละ ผลงานเป็นที่ต้องการผู้คน มีการวัดและประเมินผลการปฏิบัติงาน และมีนโยบายที่เด่นชัดสมบูรณ์

บทที่ 5
องค์การและการจัดองค์การ
องค์การหมายถึง การรวมตัวของคนสองคนขึ้นไปในการร่วมทำกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแบ่งงานออกเป็นประเภทต่างๆเพื่อให้สมาชิกได้ดำเนินการปฏิบัติเพื่อจะได้บรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งไว้
แนวคิดในการจัดองค์การนั้นจะต้องแบ่งงานตามความสามารถของบุคคล มีความคำนึง ถึงประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถและพฤติกรรมของบุคคลว่าจะให้งานประเภทใดตามความเหมาะสม
ความสำคัญขององค์การคือ เป็นที่รวมของบุคคลเพื่อจะได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถซึ่งมีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อองค์การ ต่อผู้บริหาร ต่อผู้ปฏิบัติงาน
หลักในจัดองค์การ ประกอบด้วย หลักวัตถุประสงค์ หลักความรู้ความสารถเฉพาะอย่าง หลักการประสานงาน หลักการบังคับบัญชา หลักความรับผิดชอบ หลักความสมดุล หลักความต่อเนื่อง หลักการโต้ตอบและการติดตาม หลักขอบเขตของการควบคุม หลักเอกภาพในการบังคับบัญชา หลักตามลำดับขั้นและหลักการเลื่อนตำแหล่ง
องค์ประกอบในการจัดองค์การ จะประกอบด้วย หน้าที่การบริหารงาน การแบ่งงานกันทำ การรวมและการกระจายอำนาจในการจัดองค์การ
บทที่ 6
การติดต่อสื่อสาร (Communication)
เป็นกระบวนการที่ผสานงานระหว่างบุคคล โดยวิธีการรับข้อมูล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้  ซึ่งมีกระบวนการติดต่อสื่อสาร คือ ต้องมีผู้ส่งข่าวสาร ช่องทางการส่งข่าวสาร ผู้รับสาร เสียงรบกวนที่กีดขวางการติดต่อสื่อสาร ข้อมูลป้อนกลับในการติดต่อสื่อสาร สถานการณ์และปัจจัยขององค์การในการติดต่อสื่อสาร
องค์ประกอบการติดต่อสื่อสารประกอบด้วย มีผู้ทำการติดต่อสื่อสาร การทำการติดต่อสื่อสาร ข่าวสาร ผู้รับการติดต่อสื่อสารและการตอบรับมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ข่าวสารที่เป็นจริงกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจและความพึงพอใจในการสื่อสาร
บทที่ 7
ภาวะผู้นำ (Leadership)
ภาวะผู้นำ คือผู้ที่สามารถทำให้ผู้อื่นร่วมทำงานหรือร่วมทำกิจกรรมต่างๆตามนโยบายที่เราได้วางไว้ ซึ่งภาวะผู้นำก็จะประกอบไปด้วย ผู้นำ ผู้ตาม สถานการณ์  ซึ่งประเภทผู้นำจะประกอบไปด้วยผ็นำประเภทนิเสธ และผู้นำประเภทปฏิฐาน แบบของผู้นำจะพิจารณาจากการใช้อำนาจ จากแหล่งที่มาของอำนาจ จากแนวคิดของ (Nomothetic Leader) พิจารณาตามแนวพฤติกรรมศาสตร์
หน้าที่ของผู้นำ ก็จะต้องมีความรับผิดชอบต่อองค์การ รับผิดชอบต่อผู้ใต้บังคับบัญชา รับผิดชอบต่อหน่วยงานอื่นในองค์การเดียวและต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ซึ่งผู้นำจะต้องมีลักษณะพิเศษประจำตัวคือ มีบุคลิกภาพและอุปนิสัยใจคอที่ดี มีความรู้ความสามารถในการบริหาร มีความตั้งใจสูง มีความรับผิดชอบ มีความเป็นธรรม มีใจกว้าง มีฐานะทางสังคม และมีศิลปะในการนำ
บทที่ 8
การประสานงาน (Coordination)
การประสานงาน คือการจัดระเบียบวิธีการทำงาน เพื่อให้งานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ร่วมปฏิบัติงานเป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อมุ่งหมายที่จะให้งานมีคุณภาพตามที่ต้องการและเป็นการลดปัญหาความขัดแย้งกันซึ่งหลักในการประสานงานนั้นจะต้องมีการติดต่อสื่อสารที่ดี มีระบบของความร่วมมือที่ดี มีระบบการประสานงานที่ดี มีการประสานนโยบายและวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกันและจัดให้มีการป้อนงานในรูปกระบวนการบริหารที่ครบวงจร
บทที่ 9
การตัดสินใจสั่งการหรือการวินิจฉัยสั่งการ (Decision Making)
การตัดสินใจเป็นการไตร่ตรองหาเหตุผล และตัดสินใจว่าแนวทางใดดีที่สุดในการดำเนินงานไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งหลักในการสั่งงานควรที่จะรู้ข้อชัดเจนที่แน่ชัด สั่งงานให้ตรงประเด็น มอบหมายงานให้เหมาะกับการทำงาน ต้องกล้ารับผิดชอบและยอมรับสิ่งผิดพลาดที่เกิดขึ้น ซึ่งองค์ประกอบที่ใช้ในการตัดสินใจต้องคำนึงถึงข่าวสาร การเสี่ยง นโยบาย ปัญหาต่างๆและเวลาในการวินิจฉัย
กระบวนการในการตัดสินใจประกอบด้วย การกำหนดปัญหา การค้นหาทางเลือก การประเมินทางเลือก การทำการตัดสินใจ การปฏิบัติการตามการตัดสินใจ การประเมินผลและป้อนกลับ ลักษณะของการตัดสินใจจะประกอบไปด้วย การตัดสินใจภายใต้ภาวการณ์ที่แน่นอน สภาพความไม่แน่นอน สภาพความเสี่ยง และสภาพความคลอบคลุม ซึ่งการตัดสินใจนั้นจะทำให้งานสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ก่อให้เกิดการประสานงานอันดี ช่วยประหยัดทรัพยากร ผู้ร่วมงานมีส่วนร่วมในการพัฒนาตนและพัฒนางานนำมาซึ่งความสามัคคีกลมเกลียวกัน
บทที่ 10
ภารกิจของผู้บริหารโรงเรียน

ก็จะต้องมีการบริหารวิชาการ ซึ่งมีความเดี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน การวางแผนวิชาการ การจัดแผนการเรียนการจัดการเรียนการสอน การจัดครูเข้าสอน การพัฒนาการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมการสอน การพัฒนาครูด้านวิชาการ การจัดกิจกรรมนักเรียน การวัดและประเมินผลการเรียน การประเมินผลการเรียน นอกจากนั้นยังมีภารกิจคือการบริหารบุคคลไม่ว่าจะเป็นการสรรหาและคัดเลือกบุคคล การบำรุงรักษาบุคคล การพัฒนาบุคคล นอกจากนี้แล้วยังมีภารกิจในการบริหารธุรกิจการในโรงเรียน การบริหารภารกิจในโรงเรียนและการบริหารอาคารสถานที่และบริการอื่น